องค์ประกอบที่ 1  
 
  ตัวบ่งชี้ที่ 1.1
  ตัวบ่งชี้ที่ 1.2
  ตัวบ่งชี้ที่ 1.3
  ตัวบ่งชี้ที่ 1.4
  ตัวบ่งชี้ที่ 1.5
  ตัวบ่งชี้ที่ 1.6
 
  องค์ประกอบที่ 2  
  องค์ประกอบที่ 3  
  องค์ประกอบที่ 4  
  องค์ประกอบที่ 5  
 
 
  เนติบัณฑิตยสภาฯ  
  สภาทนายความฯ  
  สภาปฏิรูปแห่งชาติ  
  สำนักนายกรัฐมนตรี  
   
 
 
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
 
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ชนิดของตัวบ่งชี้   ปัจจัยนำเข้า
คำอธิบายตัวบ่งชี้
    การศึกษาระดับอุดมศึกษาถือเป็นการศึกษาระดับสูงสุดที่ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและความลุ่มลึกทางวิชาการ เพื่อปฏิบัติพันธกิจสำคัญของสถาบันในการผลิตบัณฑิต ศึกษาวิจัยเพื่อติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและการพัฒนาองค์ความรู้ ดังนั้นคณะจึงควรมีอาจารย์ที่มีระดับคุณวุฒิทางการศึกษาที่ตรง หรือสัมพันธ์กับหลักสูตรที่เปิดสอนในสัดส่วนที่เหมาะสมกับพันธกิจ หรือจุดเน้นของหลักสูตร
เกณฑ์การประเมิน
    โดยการแปลงค่าร้อยละของอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5
1. เกณฑ์เฉพาะสถาบันกลุ่ม ข และ ค2
    ค่าร้อยละของอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป
2. เกณฑ์เฉพาะสถาบันกลุ่ม ค1 และ ง
    ค่าร้อยละของอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 80 ขึ้นไป
สูตรการคำนวณ
1. คำนวณค่าร้อยละของอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก ตามสูตร

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

หมายเหตุ :
    1. คุณวุฒิปริญญาเอกพิจารณาจากระดับคุณวุฒิที่ได้รับหรือเทียบเท่าตามหลักเกณฑ์การพิจารณาคุณวุฒิของกระทรวงศึกษาธิการ กรณีที่มีการปรับวุฒิการศึกษาให้มีหลักฐานการสำเร็จการศึกษาภายในรอบปีการศึกษานั้น ทั้งนี้ อาจใช้คุณวุฒิอื่นเทียบเท่าคุณวุฒิปริญญาเอกได้สำหรับกรณีที่บางสาขาวิชาชีพมีคุณวุฒิอื่นที่เหมาะสมกว่า ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา
    2. การนับจำนวนอาจารย์ประจำ ให้นับตามปีการศึกษาและนับทั้งที่ปฏิบัติงานจริงและลาศึกษาต่อ ในกรณีที่มีอาจารย์บรรจุใหม่ให้คำนวณตามเกณฑ์อาจารย์ประจำที่ระบุในคำชี้แจงเกี่ยวกับการนับจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย
ผลการประเมินตนเอง
เอกสาร 1
เอกสาร 2
เอกสาร 3
เอกสาร 4
เอกสาร 5