องค์ประกอบที่ 1  
 
  ตัวบ่งชี้ที่ 1.1
  ตัวบ่งชี้ที่ 1.2
  ตัวบ่งชี้ที่ 1.3
  ตัวบ่งชี้ที่ 1.4
  ตัวบ่งชี้ที่ 1.5
  ตัวบ่งชี้ที่ 1.6
 
  องค์ประกอบที่ 2  
  องค์ประกอบที่ 3  
  องค์ประกอบที่ 4  
  องค์ประกอบที่ 5  
 
 
  เนติบัณฑิตยสภาฯ  
  สภาทนายความฯ  
  สภาปฏิรูปแห่งชาติ  
  สำนักนายกรัฐมนตรี  
   
 
 
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
 
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
ชนิดของตัวบ่งชี้   ปัจจัยนำเข้า
คำอธิบายตัวบ่งชี้
    ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งสำหรับการจัดการการศึกษาระดับอุดมศึกษา คือสัดส่วนของนักศึกษาต่ออาจารย์ ที่จะต้องสอดคล้องกับศาสตร์ในแต่ละสาขาวิชาและลักษณะการเรียนการสอน รวมทั้งมีความเชื่อมโยงไปสู่การวางแผนต่างๆ เช่น การวางแผนอัตรากำลัง ภาระงานอาจารย์ เป้าหมายการผลิตบัณฑิต ดังนั้น สถาบันจึงควรมีจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริงในสัดส่วนที่เหมาะสมกับสาขาวิชา
เกณฑ์การประเมิน
    คำนวณหาค่าความแตกต่างระหว่างจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่ออาจารย์ประจำกับเกณฑ์มาตรฐานและนำมาเทียบกับค่าความต่างทั้งด้านสูงกว่าหรือต่ำกว่าที่กำหนดเป็นคะแนน 0 และ 5 คะแนน และใช้การเทียบบัญญัติไตรยางศ์ดังนี้
    ค่าความแตกต่างทั้งด้านสูงกว่าหรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานไม่เกินร้อยละ 10 กำหนดเป็นคะแนน 5
    ค่าความแตกต่างทั้งด้านสูงกว่าหรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตั้งแต่ร้อยละ 20 กำหนดเป็นคะแนน 0
    ค่าความแตกต่างทั้งด้านสูงกว่าหรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตั้งแต่ร้อยละ 10.01 และไม่เกินร้อยละ 20 ให้นำมาเทียบบัญญัติไตรยางศ์ตามสูตรเพื่อเป็นคะแนนของหลักสูตรนั้นๆ
สูตรการคำนวณจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า
1. คำนวณค่าหน่วยกิตนักศึกษา (Student Credit Hours : SCH) ซึ่งก็คือผลรวมของผลคูณระหว่างจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนกับจำนวนหน่วยกิตแต่ละรายวิชาที่เปิดสอนทุกรายวิชาตลอดปีการศึกษา รวบรวมหลังจากนักศึกษาลงทะเบียนแล้วเสร็จ (หมดกำหนดเวลาการเพิ่ม – ถอน) โดยมีสูตรการคำนวณ ดังนี้

2. คำนวณค่า FTES โดยใช้สูตรคำนวณดังนี้
จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อปี (FTES) =

การปรับจำนวนในระหว่างปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ให้มีการปรับค่าจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าในระดับบัณฑิตศึกษาให้เป็นระดับปริญญาตรี เพื่อนำมารวมคำนวณหาสัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่ออาจารย์ประจำ
นักศึกษาเต็มเวลาในหน่วยนับปริญญาตรี
1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ = FTES ระดับปริญญาตรี + FTES ระดับบัณฑิตศึกษา
2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ = FTES ระดับปริญญาตรี + (2 x FTES ระดับบัณฑิตศึกษา)
3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ = FTES ระดับปริญญาตรี + (1.8 x FTES ระดับบัณฑิตศึกษา)

สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่ออาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขา
กลุ่มสาขา สัดส่วนจำนวนนักศึกษา
เต็มเวลาต่ออาจารย์ประจำ
1. วิทยาศาสตร์สุขภาพ 8 : 1
2. วิทยาศาสตร์กายภาพ 20 : 1
3. วิศวกรรมศาสตร์ 20 : 1
4. สถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง 8 : 1
5. เกษตร ป่าไม้และประมง 20 : 1
6. บริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ บัญชี การจัดการ การท่องเที่ยว เศรษฐศาสตร์ 25 : 1
7. นิติศาสตร์ 50 : 1
8. ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 30 : 1
9. ศิลปกรรมศาสตร์ วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ 8 : 1
10. สังคมศาสตร์/มนุษยศาสตร์ 25 : 1

สูตรการคำนวณ
1. คำนวณหาค่าความแตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐานและนำมาคิดเป็นค่าร้อยละ ตามสูตร

2. นำค่าร้อยละจากข้อ 1 มาคำนวณคะแนน ดังนี้
    2.1 ค่าร้อยละไม่เกินร้อยละ 10 คิดเป็น 5 คะแนน
    2.2 ค่าร้อยละเกินร้อยละ 20 คิดเป็น 0 คะแนน
    2.3 ค่าร้อยละตั้งแต่ 10.01 และไม่เกินร้อยละ 20 ให้นำมาคิดคะแนนดังนี้

ตัวอย่างการคำนวณ
- จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อปี (FTES) ของหลักสูตรหนึ่งทางด้านสังคมศาสตร์/มนุษยศาสตร์ = 24
ค่าความแตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐาน =
= ร้อยละ -4 ได้คะแนน 5 คะแนน
- จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อปี (FTES) ของหลักสูตรหนึ่งทางด้านสังคมศาสตร์/มนุษยศาสตร์ = 32
ค่าความแตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐาน =
= ร้อยละ 28 ได้คะแนน 0 คะแนน
- จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อปี (FTES) ของหลักสูตรหนึ่งทางด้านสังคมศาสตร์/มนุษยศาสตร์ = 28
ค่าความแตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐาน=
= ร้อยละ 12
แปลงค่าความแตกต่างเป็นคะแนน เท่ากับ 20 – 12 = 8
ได้คะแนน = = 4 คะแนน
ผลการประเมินตนเอง
เอกสาร 1
เอกสาร 2
เอกสาร 3
เอกสาร 4
เอกสาร 5