เนติบัณฑิตยสภาฯ  
  สภาทนายความฯ  
  สภาปฏิรูปแห่งชาติ  
  สำนักนายกรัฐมนตรี  
   
 
ชื่อปริญญาและอักษรย่อ
   

ชื่อเต็ม (ไทย) : รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
ชื่อย่อ (ไทย) :รป.ม.
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Master of Public Administration
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : M.P.A

  วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร
   
  • การบริหารงานท้องถิ่น (Major in Local Administration)
  • นโยบายสาธารณะและการบริหารการพัฒนา (Major in Public Policy and Development Administration)
  จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร
    ทั้งแผน ก แบบ ก 2 และ แผน ข มีหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
  รูปแบบของหลักสูตร
    หลักสูตรระดับปริญญาโท หลักสูตร 1 ปี กับ 6 เดือน ใช้เวลาในการศึกษาสูงสุดไม่เกิน 5 ปี นับจากการลงทะเบียนครั้งแรก
  อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจากสำเร็จการศึกษา
   
  • ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง องค์กรภาครัฐ/เอกชน
  • ทหาร หรือตำรวจ 
  • ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง องค์การส่วนการปกครองท้องถิ่น
  • ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง องค์การ ระหว่างประเทศ 
  • นักคิด นักวิเคราะห์ ผู้กำหนดนโยบาย นักวางแผน นักวิเคราะห์โครงการ
  • นักวิจัย อิสระ 
  • ที่ปรึกษา 
  • อาจารย์สอนในสถานศึกษา 
  • อื่น ๆ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
   
  • สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายรับรอง ด้วยคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.5 จากระบบ 4 ระดับคะแนน หรือเทียบเท่า
  • มีความรู้ภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับที่สามารถใช้งานในด้านการเรียนได้ โดยต้องเป็นไปตามมาตรฐานตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด ผู้ที่มีความรู้ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด จะต้องปรับปรุงมาตรฐานความรู้ให้ได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด มิฉะนั้นจะถือว่าขาดคุณสมบัติ
          ในกรณีความรู้ภาษาอังกฤษ หลักฐานแสดงได้แก่หลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
          1. สอบผ่าน การทดสอบภาษาอังกฤษของวิทยาลัย
          2. ผู้ที่สอบไม่ผ่าน การทดสอบภาษาอังกฤษของวิทยาลัย ใน ข้อ (1) คณะกรรมการบริหาร หลักสูตรอาจรับเข้าเป็นนักศึกษาก็ได้โดยจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษในหมวดวิชาเสริมพื้นฐานโดยไม่นับหน่วยกิตในภาคการศึกษาแรกที่เข้าเป็นนักศึกษาและต้องสอบได้คะแนน “S” ถ้าสอบไม่ผ่านให้ลงทะเบียนเรียนภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตที่วิทยาลัยจัดสอนและต้องสอบได้คะแนน “S” ก่อนการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายของการค้นคว้าอิสระ/วิทยานิพนธ์
          3. ใช้คะแนนผลการจัดสอบของสถาบัน องค์การหรือหน่วยงานที่จัดสอบภาษาอังกฤษและวิทยาลัยให้การรับรอง เช่นผลการสอบ TOEFL ไม่ต่ำกว่า 473 คะแนน (Paper based) หรือ 123 ตามระบบ Computer based หรือ 52 ตามระบบ Internet based หรือ ผลสอบ IELT ไม่ต่ำกว่า 4.00 หรือผลสอบ Chulalongkorn University Test of English Proficiency (CU-TEP) หรือผลสอบ Thammasat University General English Test (TU-GET) ที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ หรือผลทดสอบภาษาอังกฤษจากสถาบันภาษาอื่น ซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยพิจารณาเป็นรายกรณี โดยผลการสอบดังกล่าว
          ในกรณีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ ผู้ได้รับเข้าเป็นนักศึกษาทุกคนจะต้องผ่านการทดสอบความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ตามที่วิทยาลัยกำหนด หากสอบไม่ผ่านจะต้องเรียนเสริมความรู้ทางคอมพิวเตอร์ ในหมวดวิชาเสริมพื้นฐานโดยไม่นับหน่วยกิต และจะต้องสอบให้ผ่านภายในปีการศึกษาแรก มิฉะนั้นอาจไม่ได้รับอนุมัติลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาต่อไป
  • ผู้สมัครเข้าศึกษาที่จบการศึกษาปริญญาตรีจากหลักสูตรที่สอนเป็นภาษาอังกฤษของสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือหน่วยงานของรัฐที่อำนาจตามกฎหมายให้การรับรอง จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องแสดงหลักฐานการสอบผ่านภาษาอังกฤษตามที่กำหนดในข้อ (3)
  • ไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
  • ผ่านกระบวนการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตร ตามกฎ ข้อบังคับ และระเบียบของวิทยาลัยนครราชสีมา
  • มีคุณสมบัติอื่น ๆ เพิ่มเติมตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับของวิทยาลัยนครราชสีมา ว่าด้วย การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2554
ระยะเวลาในการศึกษา
   
หลักสูตรระดับปริญญาโท หลักสูตร 1 ปี กับ 6 เดือน ใช้เวลาในการศึกษาสูงสุดไม่เกิน 5 ปี  
     
  เอกสารรายละเอียดของหลักสูตร Download
  เอกสารรับรองหลักสูตร สกอ. Click
  เอกสารรับรองหลักสูตร กพ. Click